วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเลือกซื้อ การ์ดจอ


 1. หน่วยความจำ ไม่ใช่ทุกอย่าง

           เรื่องจริง การ์ดจอตอนนี้มาพร้อมกับหน่วยความจำจำนวนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ 128 256  512 หรือ แม้แต่รุ่นสูงมากๆซึ่งหน่วยความจำเหล่านี้จะช่วยได้มากในเรื่องของความ ละเอียด ซึ่งการ์ดจอรุ่นสูงๆนั้นมักจะมาพร้อมกับหน่วยความจำจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะว่า หากหน่วยความจำไม่พอละก็ GPU ของ ก็จะเป็นด้วยประสิทธภาพเลยทีเดียว หากต้องการการประมวลผลจำนวนมาก ซึ่งผู้ผลิตการ์ดจอทราบดีว่าผู้ที่เลือกซื้อการ์ดจอนั้นมักจะมองหาการ์ดที่ มีหน่วยความจำสูงๆเพื่อเปรียบเทียบการ์ด โดยหากเราสังเกตดีๆในท้องตลาด   การ์ดรุ่นต่ำๆนั้นให้หน่วยความจำมา 256 หรือไม่ก็ 512 MB กันเลยทีเดียว เพื่อที่จะลดความเร็วของหน่วยประมวลผลลง โดยอาจจะดูดีเมื่อมองไปที่เสปคของการ์ด  ให้หน่วยความจำมาตั้งเยอะแยะ แต่ประสิทธิภาพที่แท้จริงของมันจะปรากฏเมือเริ่มเล่นเกม

 2. ทั้งหมดอยู่ที่ GPU

           หน่วยความจำสำคัญก็จริง แต่หัวใจของการ์ดจริงๆนั้นจะอยู่ที่หน่วยประมวลผลกราฟิก  เมื่อค้นหาชื่อของการ์ดจอนั้น สิ่งสำคัญสิ่งแรกให้ดูไปที่ชนิดของ GPU ว่ามาจาก NVIDIA หรือ ATI หรือเปล่า แต่ก็ไม่เพียงพอหรอกหากจะดูแค่ว่ามากจาก NVIDIA Geforce หรือ ATI Radeon เท่านั้น   จำเป็นต้องดูที่รุ่นของการ์ดด้วยซึ่งรุ่น  จะบอกเราได้ว่าการ์ดตัวนี้จะมีราคาเท่าไหร่ ตั้งแต่ 2000 กว่าบาท จนถึง 20000 กว่าบาทเลย  แม้ว่าจะมาจากชื่อ Geforceหรือ Radeon เหมือนๆกัน ซึ่งรุ่นสูงกว่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากรุ่นแล้วก็ยังมีรหัสต่อท้าย อย่างเช่น GT, GS, GTX, XT และ XTX ซึ่งตัวหนังสือเหล่านี้  เป็นตัวบอกถึงรุ่นของ Shader และความเร็วในการทำงาน

 3.ไปป์ไลน์ เชดเดอร์ และความเร็วในการประมวลผล

           ต้องดูในความเร็วหน่วยความจำของ GPU และจำนวนพิกเซลไปป์ไลน์ ซึ่งจำนวนไปป์ไลน์ที่มากกว่า แสดงได้ถึงการส่งผ่านข้อมูลที่มากกว่าในการทำงานแต่ละครั้ง  จะเห็นได้ว่าการ์ดจอในรุ่นต่ำๆนั้นจะมีพิกเซลล์ไปป์ไลน์จำนวน ไปป์ไลน์ รุ่นกลางนั้นจะมี 8-12 ไปป์ไลน์ และรุ่นสูงๆนั้นจะมีตั้งแต่ 16 ไปป์ไลน์ขึ้นไป และแน่นอนความเร็วก็มีผล แต่หากเปรียบเทียบระหว่างไปป์ไลน์กับความเร็วของคล๊อกนั้น ให้เลือกไปป์ไลน์เป็นหลัก   เช่นหากการ์ดชนิด400 เมกกะเฮิร์ต ซึ่งมี ไปป์ไลน์ จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการ์ดที่มี ไปป์ไลน์ที่ความเร็ว 500 เมกกะเฮิร์ต

 4. วินโดวส์วิสต้า และ Direct X 10

           ไมโครซอฟท์มีแผนการจำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows Vista ในต้นปี 2007 ที่จะถึงนี้ ระบบปฏิบัติการใหม่นี้จะมีฟีเจอร์หลักตัวหนึ่งคือ DirectX 10 ซึ่งรวมเอาฟังก์ชั่นใหม่ๆของเกมยุคหน้า แม้ว่า Vista ยังคงทำงานกับการ์ด DirectX 9 ในตอนนี้ได้ แต่การ์ดที่สามารถรัน DirectX 10 ได้เพื่อให้มีประสิธิภาพสูงสุด  ทาง NVIDIA และATI เองนั้นก็ออกการ์ดของที่สนับสนุน DX10 ในช่วงปลายปี แต่ไม่ต้องกลัวว่าการ์ดที่ซื้อในตอนนี้นั้น  จะไม่สามารถที่จะเล่นเกมรุ่นใหม่ได้ และมีปัญหากับความเข้ากันได้ กว่าที่ระบบทั้งหมดจะปรับตัวให้เข้าที่เข้าทาง นักพัฒนาทำเกมสำหรับ DX10 ออกมานั้นก็กินเวลา 2-3 ปี โดยประมาณอยู่แล้ว ดังนั้นเกมในตอนนี้และอีกสองสามปีข้างหน้านั้นจะยังคงสามารถทีจะทำงานกับ การ์ดจอได้อยู่ต่อไป ซึ่งเห็นได้ว่าแม้เกมใหม่ๆอย่าง Halo 3 และ Shadowrun นั้นก็สนับสนุนทั้ง DX9 และ DX10 พร้อมๆกัน และยังคงเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไปสักพักหลังจากที่วิสต้าออกมาแล้วก็ตาม
 5. คุณซื้อการ์ดได้ทุกเวลาเลย

           จากการที่ NVIDIA และ ATI เป็นคู่กัดกันในด้านของการทำการ์ดจอมาตลอดนนั้นทำให้การ์ดจอนั้นออกมาในตลาดบ่อยมาก โดยปกติมักจะออกรุ่นใหม่มาราวๆทุก 12-18 ดือ นซึ่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพของการ์ดทั้งความเร็วคล็อก และเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ๆเข้าไป และด้วยการที่เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเรื่อยๆอย่างเช่น H.264 แบบไฮเดฟฟินิชั่นและ Shader Model แบบ Advance ออกมา อาจจะต้องรออย่างน้อย ปีถึงจะให้เทคโนโลยีเหล่านี้แพร่หลาย  จึง มีเวลาดีตลอดเวลาในการที่จะเลือกซื้อการ์ดจอ โดยไม่ต้องรอ ราคาของการ์ดจอนั้นจะตกเร็วมากหากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมา ซึ่งสามารถที่จะใช้การ์ดจอในการเล่นเกมโปรดของได้ต่อไปอย่างแน่นอน อย่างน้อยก็ 2-3 ปี

 6.ไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อการ์ดจอ

           การ์ด จอรุ่นใหม่ๆที่ออกมาตอนนี้นั้นในรุ่นสูงๆจะมีราคาราวหมื่นถึงสองหมื่นบาท โดยสามารถหาการ์ดในรุ่นก่อนหน้าที่เป็นรุ่นสูงของมันซื่งสนับสนุนเทคโนโลยี ที่เกมในปัจจุบันใช้กันอยู่ได้ในราคา 6000-10000 บาท  ให้ลองตรวจสอบไปป์ไลน์และความเร็วของคล็อกเพื่อเปรียบเทียบการ์ดจากเทคโนโลยีในยุคที่ต่างกัน โดย  จะเห็นว่าบางครั้งมันค่อนข้างเหมือนกันเลยทีเดียว

 7. มีพาวเวอร์เพียงพอ

           ให้ ลองตรวจสอบเคสก่อนว่ามีตัวจ่ายไฟหรือพาวเวอร์ซัพไพลในการจ่ายไฟให้การ์ดจอ เพียงพอหรือไม่ เพราะว่าการ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ เป็นตัวดูดไฟ หรือค่อนข้างจะกินไฟพอสมควร   ผู้ผลิตมักจะบอกความต้องการไฟไว้ข้างกล่องของตัวการ์ดเสมอ  การ์ดจอรุ่นสูงๆ  มักต้องการพาวเวอร์ซัพพลาย 400 วัตต หรือ 450 วัตต์ หากเป็นการ์ดอบบคู่เช่น SLI หรือ CrossFire นั้นอาจจะต้องการพาวเวอร์ซัพพลายมากถึง 550 วัตต์เลยทีเดียว

 8. AGP หรือ PCI Express

           ตัวของ PCI Express ได้เข้ามาแทนอินเทอร์เฟสแบบ AGP โดยสมบูรณ์แบบ โดยมีแบนวิธมากกว่า AGP ถึง2-4 เท่าและการ์ดจอรุ่นใหม่โดยมากจะมาแบบ PCI Express ทั้งนั้น แม้ว่าการ์ดบางรุ่นจะทำมาสำหรับ AGP เพื่อคนที่ใช้อยู่แล้วจะอัพเกรด   แต่หากซื้อการ์ดจอใหม่เราแนะนำ PCI Express

 9. SLI และ Crossfire

           หากต้องการการ์ดคู่ในการทำงานหรือเล่นเกม เมื่ออัพเกรดการ์ดเป็นการ์ดคู่  อย่าลืม  SLI และ CrossFireซึ่ง แน่นอนว่าประสิทธิภาพที่ได้นั้นจะต้องมากกว่าการ์ดเดี่ยวอย่างแน่นอน โดยอาจจะต้องการเมนบอร์ดที่ออกแบบมาเฉพาะ และพาวเวอร์ซัพพลายที่เพียงพอ  NVIDIA และ ATI แข่งกันมากเรื่องของการ์ดคู่ โดย NVIDIA นั้นจะมี SLI (Scalable Link Interface) เป็นหัวหอก และ ATI จะมี CrossFire การ์ดที่จะเลือกมาทั้ง SLI และ CrossFire นั้นจะต้องเป็นการที่ระบุว่าสามารถใช้ SLI หรือ CrossFire ได้ รวมถึงเมนบอร์ดต้องสนับสนุนด้วย

 10 ซื้อการ์ดจอต้องได้การ์ดจอ

           เลิกคิดถึงระบบประมวลผลกราฟิกแบบออนบอร์ดไปได้   หากเลือกซื้อทางอินเตอร์เน็ต หรือต้องการระบบดีๆเพื่อมาเล่นเกมโปรดหรือทำงานกราฟิกแบบหนักหน่วง   ปิดบราวเซอร์ไปได้เลยหากเจอคำว่า Integrated Graphicหรือ Graphic On Board เพราะหากเลือกแบบนี้มา   มันก็เพียงพอสำหรับการใช้งานพวก Word หรือเล่นอินเตอร์เน็ตเท่านั้น  และหากต้องการจะเล่นเกมมันก็สามารถเล่นได้เพียงความละเอียด 800 x 600 ที่ 15 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้นเอง

ส่วนประกอบการ์ดจอ

อินเตอร์เฟส (Interface) หรือระบบบัสของตัวการ์ด

เป็นส่วนที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสที่อยู่บนเมนบอร์ด มีลักษณธเป็นแถบทองแดงยื่นออกมาด้านข้างของตัวการ์ด ใช้เสียบลงบนช่องเสียบ (Slot) บนเมนบอร์ดที่เป็นชนิดเดียวกันกับตัวการ์ด ปัจจุบันการ์ดจอมีอินเตอร์เฟสให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบคือ AGP และ PCI Express ซึ้งมีรายระเอียดดังนี้

AGP (Accelerated Graphic Port)

เป็นระบบบัสที่มีความถี่ในการทำงานที่ 66.6 MHz ด้วยความกว้างบัสขนาด 32 บิตมาตรฐานเริ่มต้นคือ AGP 1X ซึ่งให้Bandowidth ที่ 266 MB/sec (โดยประมาณ) แต่สำหรับมาตรฐานล่าสุดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ AGP 8X ซึ่งให้Banidth สูงสุดที่ 2132 MB/sec หรือ 213 GB/sec


PCI Express

เป็นมาตรฐานของระบบบัสแบบใหม่ที่ใช้วิธีการรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม (Serial) สองทิศทางทั้งไปและกลับ ซึ่งถูกออกแบบให้เลือกใช้ความเร็วมากน้อยได้ตามต้องการของอุปกรณ์แต่ละชนิด และยังให้แบนด์ดิวธ์ (Bandwidth)เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยมาตรฐานเริ่มต้นคือ PCI Express x1 (นำมาใช้แทน PCI เดิม) ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุด 500 MB/sec แต่สำหรับมาตรฐานล่าสุดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ PCI Express x16 (ใช้แทนAGP เดิม) นั้น ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุดมากถึง 8000 MB/sec หรือ 8 GB/sec เลยทีเดียวนอกจากนี้บนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นยังรองรับเทคโนโลยี SLI(Scalable Link Interface multi-GPU Technology) โดยมีการติดตั้งสล็อตแบบ PCI Express x16 นี้มาให้พร้อมกันถึง ตัวเพื่อช้วยเพิ่มประสิทภาพในการประมวลผลกราฟิกให้สูงขึ้นอีกด้ว

ชิปประมวลผลกราฟิก (GPU: Graphic Proessing Unit)

เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดบนตัวการ์ด ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้านกราฟิกโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยลดภาระในการทำงานของซีพียูลงรวมทั้งเพิ่มความเร็วในการแสดงภาพ และ มิติ ทั้งภาพนิ่งและภาพเครื่องไหวบนจอแสดงผลปัจจุบันบริษัทที่แข่งขันกันผลิตชิปประมวลผลกราฟิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำไปใช้ประมวลผลภาพกราฟิกแบบ 3มิติสำหรับเกมต่างๆที่ผู้ใช้โดยทั่วไปไปรู้จักกันดีมีอยู่ บริษัทใหญ่ คือ nVIDIA ผุ้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิกในตะกูลGeForce ซีรี่ส์ต่างๆ เช่น Series 7 และ รุ่น 7950, 7900, 6800 และ 6600 เป็นต้น และ บริษัท ATI ผูเผลิตชิปประมวลผลกราฟิกในตระกูล Radeon ซีรี่ส์ต่างๆ เช่น Series X1900, X1800, X800 และ X550 เป็นต้น

หน่วยความจำบนตัวการ์ด (VIRAM : Video RAM)

ทำหน้าที่รับเอาข้อมูลภาพที่ถูกส่งมาจากหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) มาพักหรือจัดเก็บไว้ เพื่อจะนำไปแสดงผลบนจอภาพในแต่ละเฟรมหรือเรียกว่าเป็น Frame Buffer นั่นเองหน่วยความจำบนตัวการ์ดนี้จะคอยทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลกราฟิก(GPU) อยู่อย่างใกล้ชิดแบบเดียวกับหน่วยความจำหลัก หรือแรมบนเมนบอร์ดทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดังนั้นถ้า VRAM ยังมีความเร็วและมีความจุสูงมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีตั่งแต่ SDRAM, RDRAM, DDR-SDRAM, DDR2 และ DDR3 (GDDR3) ซึ่งแต่ละชนิดต่างก็มีประสิทธิภาพ และราคาที่แตกต่างกันไป

ตัวแปลงสัญญาณสู่จอภาพ (RAMDAC)

RAMDAC หรือ RAM Digital-to-Analog Convertor เป็นชิปที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลใน RAM ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกเพื่อส่งไปยังจอภาพ โดยการวนอ่านข้ อมูลซ้ำๆกันไปเรื่อยๆตามอัตรา Refresh Rate ซึ่งยิ่งตั่งให้สูงเท่าไรก็ต้แงทำงานเร็วขึ้นเท่านั้น เช่น Refresh Rate 75 Hz ก็คือ RAMDAC จะต้องวนอ่านข้อมูลไปสร้างภาพซ้ำๆกัน 75 ครั้งต่อวินาทีตามไปด้วย ดังนั้นยิ่ง RAMDAC มีความเร็วสูงมากก็ยิ่งรับ Refresh Rate ได้สูงตามไปด้วย เช่น RAMDAC ที่300 MHz ก็น่าจะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่ารุ่นที่มีความเร็วแค่ 150 MHz เป็นต้น


ประเภทของการ์ดจอ (ต่อ)

ประเภทของการ์ดจอตามผู้ผลิต 

ในปัจจุบัน บริษัทที่ผลิตการ์ดจอออกมาจำหน่ายมีอยู่ด้วยกัน 2 บริษัทใหญ่ๆ ซึ่งเราจะได้เห็นกันในตลาดการ์ดจอทั่วไป ในส่วนนี้เราจะพูดถึงการ์ดจอแบบแยกเท่านั้น เพราะสามารถซื้อขายและนำมาเปลี่ยนบนเมนบอร์ดได้เลย

  1. Nvidia – สัญญลักษณ์รูปตาสีเขียว มีประสิทธิภาพสูง และราคาค่อนค้างจะสูงหากเทียบกับ ATI หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน
  2. ATI – สัญญลักษณ์เป็นสีแดงคล้ายไฟ มีประสิทธิภาพพอสมควร หากจะมองทางด้านเทคโนโลยีอาจจะยังไม่สามาระเทียบเท่ากับ Nvidia ได้ แต่ราคาจะถูกกว่า หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน 


ประเภทการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งาน 

เราสามารถแบ่งการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งานได้ทั้งหมด 4 ประเภทดังต่อไปนี้ 

  1. การใช้งานแสดงผลทั่วไป – ไม่เน้นกราฟฟิคเลย ส่วนมากจะใช้งานเป็นการ์ดจอแบบ On-Board หรือการ์ดจอที่ติดมากับ Mainboard อยู่แล้ว ไม่มีการเสียบการ์ดจอเพิ่ม 
  2. การใช้งานแสดงผลกราฟฟิคเล็กน้อย – ส่วนมากจะเน้นทางด้านดูหนัง เน้นความบันเทิง แต่ไม่รวมการเล่นเกมส์แบบ 3D หรือ Animation บนกราฟฟิคสูงๆ จะใช้งานการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพการแสดงผลต่ำและราคาถูก แต่รองรับการแสดงผลระดับ HD ขึ้นไป 
  3. การเล่นเกมส์และการแสดงผล 3D – เน้นการเล่นเกมส์บนภาพที่สมจริงเป็นหลัก ส่วนมากจะใช้งานการ์ดจอที่รองรับการแสดงผลแบบ 3 มิติ หรือการ์ดจอที่มีการแสดงผลที่สูงมากๆ ราคาของการ์ดจอชนิดนี้อาจจะโดดสูงอยู่บ้าง หากอยากได้ตัวที่สามารถเล่นเกมส์ได้แบบไม่กระตุก หรืออาจจะเป็นลักษณะของการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว (เทคโนโลยีการใช้งานการ์ดจอตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มาช่วยกันทำงาน ซึ่งจะพูดถึงในบทความต่อๆไป) การใช้งานด้าน Graphic Workstation – เน้นทางด้านการทำงานด้านการออกแบบ 
  4. การใช้งานโปรแกรมออกแบบสร้างผลงานทางด้านกราฟฟิค ซึ่งจะต้องใช้การประมวลผลของระบบ Graphics Processing Unit (GPU) อยู่ตลอดเวลาและแบบ Real-Time เพื่อให้งานเดินไปอย่างราบรื่น การ์ดจอที่ใช้งานจะต้องมีประสิทธิภาพสูงมากๆ และมีการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว หรือต่อพ่วง GPU เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการประมวลผลภาพที่สมบูรณ์สมจริงและรวดเร็ว ปัจจุบันการ์ดจอชนิดนี้ได้แก่ NVIDIA QUADRO และ AMD FirePro ซึ่งราคาจะสูงมากๆ ไม่เหมาะกับการนำมาเล่นเกมส์ซักเท่าไร เพราะว่าคอเกมส์ทั้งหลาย แค่ใช้การ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ก็เหลือๆแล้ว

ประเภทของการ์ดจอ

การ์ดจอ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่จะเรียกใช้งานแบบไหน แต่โดยส่วนมากแล้วจะเข้าในกันว่าเป็นฮาร์ดแวร์ที่เอาไว้ใช้ประมวลผลทางด้าน Graphic เพื่อที่จะแสดงผลออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เราได้เห็น หากจะต้องแบ่งการ์ดจอออกเป็นแต่ละประเภท ก็คงแบ่งได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะยกตัวอย่างการแบ่งการ์ดจอได้ดังนี้ 

  • แบ่งตามลักษณะของฮาร์ดแวร์ 
  • แบ่งตามบริษัทผู้ผลิต
  •  แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน

ประเภทของการ์ดจอตามลักษณะของฮาร์ดแวร์ 

เราสามารถแบ่งการ์ดจอให้อยู่ในรูปแบบลัษณะของฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้ 2 ประเภทดังนี้ 
  1. การ์ดจอออนบอร์ด (On-Board) – คือการ์ดจอที่ถูกติดตั้งมาบนแผงวงจร Mainboard (เมนบอร์ด) โดยจะเป็นแผงวงจรเดียวกับ Mainboard ไม่สามารถถอดออกได้ และไม่สามารถอัพเกรดได้ 
  2. การ์ดจอแยก (Out-Board) – คือการ์ดจอลักษณะเป็นการแยกจาก Mainboard (เมนบอร์ด) โดยชัดเจน เป็นคนละชิ้่นส่วนกัน แต่การ์ดจอจะเสียบอยู่บนเมนบอร์ดในลักษณะการเชื่อมต่อภายนอก สามารถถอดเข้าถอดออกได้ และสามารถที่จะอัพเกรดเอาตัวใหม่มาใส่ได้ (การอัพเกรดการ์ดจอ ขึ้นอยู่กับการรองรับของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ และแหล่งไฟเลี้ยงระบบ (Power Supply) ด้วย ผู้ใช้งานควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน) 
ในลักษณะของการประมวลผลทั้ง 2 แบบด้านบนนี้ ส่วนที่แตกต่างกันเราสามารถสรุปได้ดังนี้ 


  • การ์ดจอออนบอร์ดจะใช้งานการประมวลผลกราฟฟิคจาก CPU หน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ แต่สำหรับการ์ดจอแยกจากเมนบอร์ดนั้นจะใช้งาน Graphics Processing Unit (GPU) แยกจาก CPU อย่างชัดเจน ทำให้เรื่องประสิทธิภาพการประมวลผลกราฟฟิคนั้น การ์ดจอแยกจะดีกว่ามากๆ เพราะไม่รบกวนการทำงานของระบบ CPU ซึ่งจะต้องประมวลผลทุกๆส่วนของระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว (แต่หากการใช้งานทั่วๆไปก็คงไม่เห็นผลมากนัก นอกจากการที่จะต้องประมวลผลภาพกราฟฟิคสูงๆ เช่น การเล่นเกมส์ เป็นต้น) 
  • การ์ดจอแบบแยกจะต้องซื้อมาใส่เพิ่มกับเมนบอร์ด หากว่าเมนบอร์ดมีการ์ดจอแบบออนบอร์ดอยู่แล้ว ให้เสียบสายหน้าจอที่การ์ดจอที่เราทำการซื้อมาใส่ หากเสียบสายที่เมนบอร์ด เท่ากับว่าเราใช้งานการ์ดจอแบบออนบอร์ด เพราะฉะนั้น โปรดระวังในเรื่องของการเสียบสายหน้าจอด้วย (ปัจจุบันเมนบอร์ดบางรุ่นไม่มีการ์ดจอแบบออนบอร์ดมาให้ จะต้องซื้อการ์ดจอแยกมาใส่เพิ่มเอง) 
  • การทำงานของ GPU ย่อมเร็วกว่า CPU (ทางด้านการประมวลผลกราฟฟิคเท่านั้น) เพราะว่า GPU จะเน้นจำนวน Core ที่เยอะกว่า CPU แต่หมายถึง 1 Core ของ GPU จะมีได้ประมวลผลเร็วเทียบเท่ากับ 1 Core ของ CPU เนื่องจากการประมวลผลกราฟฟิคของการ์ดจอจะเน้นการทำงานหลายๆ Core พร้อมๆกัน (Multi-Core Processing) ซะมากกว่า 


ประวัติการ์ดจอ

ประวัติเริ่มแรก

          คอมพิวเตอร์มีบทบาทที่สำคัญในการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ สิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งในรูปแบบการประยุกต์ใช้งานคือ การแสดงผล หากย้อนรอยในอดีตคงจำได้ว่าการแสดงผลในยุคแรกที่ใช้กับเครื่องรุ่น 8 บิต และรุ่น 16 บิต ยุคต้นที่ใช้โอเอสดอส ยังเป็นการแสดงผลด้วยเท็กซ์โหมด
          การแสดงผลในรูปแบบตัวอักษรใช้กันมานานพอควร จอภาพแสดงตัวอักษรได้เพียง 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร ครั้นจะแสดงกราฟิกส์ก็ได้ความละเอียดของการแสดงผลจำกัด การแสดงสีก็มีจำนวนสีได้จำกัด ครั้นถึงยุคสมัยการใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณสิบปีที่ผ่านมานี้เอง (วินโดว์ 95 ใช้กันราวปี 1995) การแสดงผลได้เปลี่ยนยุคมาเป็นการแสดงผลแบบกราฟิกส์ ความต้องการเรื่องการแสดงผลจึงเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีพิเศษสำหรับการแสดงผล มีการพัฒนาระบบการแสดงผลให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการตอบสนองการแสดงผลที่ต้องแสดงรูปภาพเคลื่อนไหวรูปภาพสามมิติ (3D) รวมทั้งการจัดการประมวลผลภาพแบบต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้เพราะการประยุกต์ทางกราฟิกส์เป็นความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การใช้เล่นเกม การแสดงผลงานทางธุรกิจ การออกแบบทางวิศวกรรม การเชื่อมต่อเพื่อแสดงผลภาพ วิดีโอ การแสดงผลภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องการความรวดเร็วของการประมวลผล และต้องการเทคนิคพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเติม ความเป็นมา จุดเริ่มต้นของการแสดงผลเริ่มจากการส่งตัวอักษร ซึ่งเป็นสายอักขระมาที่อุปกรณ์เอาท์พุต อุปกรณ์เริ่มแรกจึงมีลักษณะการพิมพ์แสดงผลที่เรียกว่า เทเลไทป์ (teletype) ลักษณะของเทเลไทป์ จึงมีแป้นพิมพ์ และตัวพิมพ์ในลักษณะเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์รวมกัน ต่อมามีการพัฒนาให้เป็นการแสดงผลบนจอหรือที่เรียกว่า วิดีโอดาต้าเทอร์มินอล มีลักษณะการแสดงผลบนจอภาพ และมีแป้นพิมพ์ (คีย์บอร์ด) ที่ป้อนตัวอักษรได้ด้วย อุปกรณ์นี้จึงมีชื่ออีกอย่างว่า ดัมบ์เทอร์มินอล (dump terminal) เพราะใช้แสดงผลตามข้อมูลสายอักขระที่ส่งมาเท่านั้น และแสดงผลเป็นบรรทัดเรียงกันไป   
          ครั้นถึงยุคสมัยพีซี จึงต้องทำพีซีให้กระทัดรัด ใช้งานง่าย ราคาถูก อุปกรณ์แสดงผลด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญของพีซีด้วย เมื่อไอบีเอ็มพัฒนาพีซีขึ้นในปี ค.ศ. 1981 ไอบีเอ็มได้พัฒนาวงจรเชื่อมต่อกับจอมอนิเตอร์เป็นแบบการแสดงผลตัวอักษร และแสดงผลได้สีเดียว และให้ชื่อวงจรเชื่อมต่อนี้ว่า MDA-Monochrome Display Adapter ถัดจากนั้นอีกหนึ่งปีก็พัฒนาการแสดงผลแบบสี ซึ่งแสดงผลทั้งแบบตัวอักษรและโหมดกราฟิกส์ วงจรเชื่อมต่อแบบใหม่มีชื่อว่า CGA-Color Graphic Adapter ด้วยความต้องการแสดงผลเชิงรูปภาพแบบกราฟิกส์ และการแสดงผลแบบสีเป็นความต้องการ ประจวบกับเทคโนโลยีการแสดงผลได้พัฒนามาเป็นลำดับ ในปี 1984 ไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบการแสดงผลที่ขยายขีดความสามารถเดิมของ CGA ออกไป และให้ชื่อว่า EGA-Enhance Graphic Adapter หลังจากนั้นอีกไม่กี่ปี ก็พัฒนาระบบการแสดงผลกราฟิกส์ที่เป็นรากฐานสำหรับเทคโนโลยีการแสดงผล โดยใช้ชื่อเทคโนโลยีว่า VGA-Video Graphic Array
          ในปี 1990 การแสดงผลเข้าสู่ความละเอียดและการแสดงสีสูงขึ้น โดยสามารถแสดงผลที่ความละเอียด 1024x768 จุดสี และเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า XGA-Entended Graphic Array อย่างไรก็ดีในยุคต้นนี้ การแสดงผลส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ที่ 800x600 จุดสี เพื่อที่จะใช้ได้กับจอภาพที่มีความละเอียดได้ขนาดนี้ หลักการพื้นฐานของการแสดงผลบนจอภาพจำเป็นต้องมีหน่วยความจำที่ใช้สำหรับแสดงผลที่เรียกว่า วิดีโอแรม หน่วยความจำนี้เป็นที่เก็บข้อมูลแสดงผลบนจอ ดังนั้นจึงต้องมีขนาดพอเพียงกับการนำมาแสดงผล และจะต้องเป็นหน่วยความจำที่เข้าถึง และเรียกข้อมูลออกมาแสดงผลได้เร็ว การจัดการหน่วยความจำส่วนนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมพิเศษแยกจากซีพียู ซึ่งในระยะหลังได้พัฒนาตัวควบคุมการแสดงผลให้มีขีดความสามารถพิเศษ และเป็นเสมือนซีพียูจัดการกราฟิกส์ที่เรียกว่าGraphic co-processor มีบริษัทชั้นนำหลายแห่งพัฒนาและออกแบบชิพจัดการภาคแสดงนี้
          บล็อกไดอะแกรมของการเชื่อมต่อเพื่อแสดงผล
          การแสดงผลด้วยหลักการเดิม ชิพกราฟิกส์หรือตัวประมวลผลกราฟิกส์จะจัดการกับวิดีโอแรม ซึ่งหน่วยความจำนี้เริ่มจากการอยู่ร่วมกับหน่วยความจำหลัก หน่วยการแสดงผลบางรุ่นเชื่อมต่อเข้าสู่บัสทางสล็อตของ ISA หรือ PCIแต่ถึงแม้ว่า PCI จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงแล้ว แต่ก็ยังไม่พอเพียงต่อการใช้งานในยุคใหม่ ดังนั้นจึงต้องออกแบบพอร์ตพิเศษสำหรับการส่งรับข้อมูลระหว่างหน่วยความจำเป็นกรณีพิเศษ และให้ชื่อพอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อกับการ์ดแสดงผลนี้ว่า AGP-Advanced Graphic Port ชนิดของการ์ดแสดงผล การ์ดแสดงผลเป็นตัวแปรหนึ่งสำหรับการเลือกซื้อพีซี การ์ดแสดงผลทำให้ขีดความสามารถบางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะหากต้องการเล่นเกม และเป็นเกมที่เน้นการแสดงผลแบบ 3การ์ดแสดงผลจะมีผลอย่างมาก ชนิดของการ์ดแสดงผลมีหลายแบบตามเทคโนโลยีที่พัฒนา และเมื่อมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ของเก่าก็ล้าสมัย และในที่สุดก็ไม่มีผู้ผลิต ชนิดของการ์ดมีดังนี้
          การ์ดวีจีเอ (VGA) เป็นการ์ดรุ่นแรกที่ทำตามมาตรฐาน VGA มีการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบทาง ISA การแสดงผลจึงเป็นการแสดงผลที่มีข้อจำกัดในเรื่องการส่งรับข้อมูลจำนวนมาก ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว แต่จะมีใช้ในพีซีรุ่นเก่า
          การ์ดซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) เป็นการ์ดที่ผลิตตามมาตรฐานของ VESA-Video Electronic Standard Association ซึ่งเป็นสมาคมที่จัดตั้งขึ้นมาวางมาตรฐานกลางการแสดงผลเพื่อให้มีความเข้ากันได้ โดยเฉพาะเมื่อผลิตและพัฒนามาจากหลากหลายบริษัท การ์ดวิดีโอที่ใช้กันในรุ่นแรกก็เป็นไปตาม VESA นี้ การ์ดที่ใช้ตัวเร่งกราฟิกส์ (Graphic Accelerator) เป็นการ์ดที่พัฒนามาจากบริษัทชั้นนำทางด้านการผลิตการ์ดวิดีโอนี้ มีการพัฒนาซีพียูแบบco-processor ใช้บนบอร์ด เพื่อเพิ่มความเร็วการแสดงผลกราฟิกส์ การ์ดตัวเร่งกราฟิกส์นี้ ทำงานได้ดีกับคำสั่งพิเศษที่เขียนภาพแบบ 2และเป็นภาพที่แสดงผลด้วยความละเอียดสูง การ์ดตัวเร่ง 3บริษัทชั้นนำหลายบริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้โดยเน้นการแสดงภาพสามมิติ ซึ่งมีคำสั่งสนับสนุนการทำงานแบบภาพสามมิติ การ์ดแสดงผลแบบนี้จึงต้องทำงานด้วยความเร็วสูง และก็มีราคาแพงขึ้น เช่น การ์ด GeForce, Voodoo เป็นต้น

การ์ดจอ คืออะไร

  การ์ดจอ คือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง  การ์ดกราฟฟิกทีได้รับความนิยมและใช้กันแพร่หลายในอยู่ปัจจุบัน เป็นการ์ดกราฟฟิกที่มี GPU เป็นตัวประมวลผล

          ชื่อการ์ดแสดงผลมีชื่อในภาษาอังกฤษหลายคำ รวมถึง video card, display card,graphic adaptor, graphics card, video card, video board, video display board,display adapter, video adapter

          Graphics Processing Unit  (GPU) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้คือ  visual processing unit  (VPU) ซึ่ง GPUหน้าที่หลักของ GPU ก็คือช่วยในการประมวลการทำงานในด้านภาพกราฟฟิกบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหลักการทำงานก็คล้ายกับ CPU แต่ จะแตกต่างกันตรงที่ การ์ดแสดงผลสมัยเก่า ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสความนิยมของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำ ให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้ เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GRAPHICS PROCESSING UNIT โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก