วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเภทของการ์ดจอ (ต่อ)

ประเภทของการ์ดจอตามผู้ผลิต 

ในปัจจุบัน บริษัทที่ผลิตการ์ดจอออกมาจำหน่ายมีอยู่ด้วยกัน 2 บริษัทใหญ่ๆ ซึ่งเราจะได้เห็นกันในตลาดการ์ดจอทั่วไป ในส่วนนี้เราจะพูดถึงการ์ดจอแบบแยกเท่านั้น เพราะสามารถซื้อขายและนำมาเปลี่ยนบนเมนบอร์ดได้เลย

  1. Nvidia – สัญญลักษณ์รูปตาสีเขียว มีประสิทธิภาพสูง และราคาค่อนค้างจะสูงหากเทียบกับ ATI หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน
  2. ATI – สัญญลักษณ์เป็นสีแดงคล้ายไฟ มีประสิทธิภาพพอสมควร หากจะมองทางด้านเทคโนโลยีอาจจะยังไม่สามาระเทียบเท่ากับ Nvidia ได้ แต่ราคาจะถูกกว่า หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน 


ประเภทการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งาน 

เราสามารถแบ่งการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งานได้ทั้งหมด 4 ประเภทดังต่อไปนี้ 

  1. การใช้งานแสดงผลทั่วไป – ไม่เน้นกราฟฟิคเลย ส่วนมากจะใช้งานเป็นการ์ดจอแบบ On-Board หรือการ์ดจอที่ติดมากับ Mainboard อยู่แล้ว ไม่มีการเสียบการ์ดจอเพิ่ม 
  2. การใช้งานแสดงผลกราฟฟิคเล็กน้อย – ส่วนมากจะเน้นทางด้านดูหนัง เน้นความบันเทิง แต่ไม่รวมการเล่นเกมส์แบบ 3D หรือ Animation บนกราฟฟิคสูงๆ จะใช้งานการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพการแสดงผลต่ำและราคาถูก แต่รองรับการแสดงผลระดับ HD ขึ้นไป 
  3. การเล่นเกมส์และการแสดงผล 3D – เน้นการเล่นเกมส์บนภาพที่สมจริงเป็นหลัก ส่วนมากจะใช้งานการ์ดจอที่รองรับการแสดงผลแบบ 3 มิติ หรือการ์ดจอที่มีการแสดงผลที่สูงมากๆ ราคาของการ์ดจอชนิดนี้อาจจะโดดสูงอยู่บ้าง หากอยากได้ตัวที่สามารถเล่นเกมส์ได้แบบไม่กระตุก หรืออาจจะเป็นลักษณะของการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว (เทคโนโลยีการใช้งานการ์ดจอตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มาช่วยกันทำงาน ซึ่งจะพูดถึงในบทความต่อๆไป) การใช้งานด้าน Graphic Workstation – เน้นทางด้านการทำงานด้านการออกแบบ 
  4. การใช้งานโปรแกรมออกแบบสร้างผลงานทางด้านกราฟฟิค ซึ่งจะต้องใช้การประมวลผลของระบบ Graphics Processing Unit (GPU) อยู่ตลอดเวลาและแบบ Real-Time เพื่อให้งานเดินไปอย่างราบรื่น การ์ดจอที่ใช้งานจะต้องมีประสิทธิภาพสูงมากๆ และมีการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว หรือต่อพ่วง GPU เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการประมวลผลภาพที่สมบูรณ์สมจริงและรวดเร็ว ปัจจุบันการ์ดจอชนิดนี้ได้แก่ NVIDIA QUADRO และ AMD FirePro ซึ่งราคาจะสูงมากๆ ไม่เหมาะกับการนำมาเล่นเกมส์ซักเท่าไร เพราะว่าคอเกมส์ทั้งหลาย แค่ใช้การ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ก็เหลือๆแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น